งานช่างในฟาร์ม

เรื่องราวงานช่าง งานสวน ที่ต้องลงมือทำ ซ่อมแซม และแก้ไขด้วยตนเอง

กระบอกกรองน้ำ Big Blue แบบรีฟิล ตัน เปลี่ยนเป็นตาข่ายสแตนเลส ใช้ต่อแบบยาวๆ

กระบอกกรองน้ำ Big Blue แบบรีฟิล จะมีฝาปิดที่ด้านบน และด้านล่าง ซึ่งภายในจะมีใยสังเคราะห์บางๆ และค่อนข้างละเอียดติดอยู่ด้วย ซึ่งทำหน้าที่ปิดกั้น ไม่ให้สารกรอง เล็ดลอด ออกไปจากกระบอกกรองได้ ซึ่งถ้ามีอาการตัน จะทำให้ระบบกรองทั้งระบบ มีแรงดันน้ำลดลงตามไปด้วย ซึ่งในบทความที่แล้ว ชวนมาทำความสะอาด ใยสังเคราะห์ หรือใยกรอง ไส้กรองน้ำ Big Blue บิ๊กบลู 20 นิ้ว แบบรีฟิล (refill) ทำให้น้ำไหลเบา กันไปแล้ว วันนี้จะชวนมาเปลี่ยนใยกรอง มาเป็น ตาข่ายสแตนเลสแทน จะได้ใช้งานกันไปยาวๆ และยังล่างง่ายกว่าใยสังเคราะห์อีกต่างหาก

กระบอกกรองน้ำ Big Blue แบบรีฟิล ตัน เปลี่ยนเป็นตาข่ายสแตนเลส ใช้ต่อแบบยาวๆ ไม่ตันง่าย และล้างทำความสะอาดง่ายด้วย
กระบอกกรองน้ำ Big Blue แบบรีฟิล ตัน เปลี่ยนเป็นตาข่ายสแตนเลส ใช้ต่อแบบยาวๆ ไม่ตันง่าย และล้างทำความสะอาดง่ายด้วย

ไส้กรองน้ำ Big Blue บิ๊กบลู 20 นิ้ว แบบรีฟิล (refill) ทำให้น้ำไหลเบา

เครื่องกรองน้ำขนาดใหญ่ หรือที่เรียกกันว่า Big Blue เพราะตัวโครง หรือ Housing เป็นพลาสติก สีน้ำเงิน ใช้กับไส้กรองน้ำขนาดความยาว 20 นิ้ว ใช้กันอยู่ในตู้น้ำดื่มแบบหยอดเหรียญ แต่ผมนำมาใช้งานภายในฟาร์ม เป็นการกรองน้ำเพื่อนำมาใช้งานภายในบ้าน โดยน้ำดิบที่ใช้ คือน้ำจากสระน้ำเล็กๆ ข้างบ้าน โดยผ่านการกรองหลายชั้น เริ่มจาก PP ไป Carbon Block ไป Resin ไป Gac Carbon ซึ่งเจ้าตัวสุดท้ายนี่แหละ ที่ทำให้น้ำไหลช้ามากๆ

ไส้กรองน้ำ Big Blue บิ๊กบลู 20 นิ้ว แบบรีฟิล (refill) ทำให้น้ำไหลเบา เพราะอะไร เดี๋ยวมาดู มาหาสาเหตุกัน
ไส้กรองน้ำ Big Blue บิ๊กบลู 20 นิ้ว แบบรีฟิล (refill) ทำให้น้ำไหลเบา เพราะอะไร เดี๋ยวมาดู มาหาสาเหตุกัน

สาเหตุที่ทำให้น้ำเสีย ในร่องสวน เพราะหญ้าตาย หรือ เศษวัสดุ เป็นอาหารจุลินทรีย์

สาเหตุที่ทำให้น้ำเสีย ในร่องสวน เพราะหญ้าตาย หรือ เศษวัสดุ หมักหมม ไม่ได้ถูกเอาออกจากน้ำ จนหญ้าตายเริ่มย่อยสลายจากจุลินทรีย์ ซึ่งตามปกติในน้ำ จะต้องมีจุลินทรีย์ที่ดีๆ ไม่เกิดกลิ่นเหม็น มากกว่าจุลินทรีย์ที่ไม่ดี แต่เมื่ออาหารมันมีมากจนล้น จุลินทรีย์ไม่ดี กินอาหารมาก ขยายตัวมากๆ จนเกิดความไม่สมดุลย์ น้ำจึงเกิดการเน่าเสีย

สาเหตุที่ทำให้น้ำเสีย ในร่องสวน เพราะหญ้าตาย หรือ เศษวัสดุ เป็นอาหารจุลินทรีย์ หญ้าด้านบนเขียว แต่หญ้าด้านล่างถูกทับไปเรื่อยๆ ด้านล่างก็จะเน่าเสียเพราะจมน้ำตลอดเวลา และไม่ถูกแสงแดง
สาเหตุที่ทำให้น้ำเสีย ในร่องสวน เพราะหญ้าตาย หรือ เศษวัสดุ เป็นอาหารจุลินทรีย์ หญ้าด้านบนเขียว แต่หญ้าด้านล่างถูกทับไปเรื่อยๆ ด้านล่างก็จะเน่าเสียเพราะจมน้ำตลอดเวลา และไม่ถูกแสงแดง

ซ่อม Bilge Pump 1100GPH ปั๊มน้ำท้องเรือ เสร็จแล้วต้องทดสอบ

ปั๊มน้ำท้องเรือ Bilge Pump 1100GPH ซ่อมแก้ไขปัญหาเรื่อง หมุนฝืดเสร็จเรียบร้อยแล้วในบทความที่ผ่านมา ตอนนี้เราจะมาทดสอบกันดูซิว่า แก้ปัญหาไปแล้ว ประกอบกลับเสร็จแล้ว โดยใช้กาวซิลิโคน ในการประสานชิ้นส่วนพลาสติกเข้าด้วยกัน เพราะอนาคต ถ้าต้องซ่อมบำรุงอีก ก็ต้องการถอดให้ง่ายกว่าเดิม ไม่ต้องเสียเวลาเลื่อยพลาสติกอีก ซึ่งกาวซิลิโคน ประเภทกาวทาประเก็น จะแกะแคะออกค่อนข้างง่าย ก็เลยเลือกใช้วิธีนี้

ซ่อม Bilge Pump 1100GPH ปั๊มน้ำท้องเรือ เสร็จแล้วต้องทดสอบ จากนั้นก็ติดตั้งใช้งานจริง เป็นปั๊มน้ำเติมอากาศไปเลย หน้าที่ใหม่ของปั๊มตัวนี้
ซ่อม Bilge Pump 1100GPH ปั๊มน้ำท้องเรือ เสร็จแล้วต้องทดสอบ จากนั้นก็ติดตั้งใช้งานจริง เป็นปั๊มน้ำเติมอากาศไปเลย หน้าที่ใหม่ของปั๊มตัวนี้

ปั๊มน้ำ DC Bilge Pump 1100GPH ปั๊มน้ำท้องเรือ ซ่อม ไม่ยากเลย ตอนที่ 4

ซ่อมปั๊มน้ำ 1100GPH ปั๊มน้ำท้องเรือ หรือ Bilge Pump ซึ่งเป็นปั๊มน้ำ DC ตัวเล็กๆ ผ่านมาถึงตอนที่ 4 แล้ว ซึ่งเราจะมาประกอบชิ้นส่วนของปั๊มน้ำ แต่ละส่วนเข้าด้วยกัน หลังจากที่เราได้แก้ไขปัญหาเรื่อง มอเตอร์ปั๊มน้ำฝืดไปเรียบร้อยแล้วในตอนที่ 3 ที่ผ่านมา มาดูกันว่าโครงปั๊มน้ำที่ถูกเลื่อยออกมาเป็นชิ้นๆ แล้วนั้น จะประกอบเข้าด้วยกันได้ยังไงบ้าง และมันจะทำงานได้เหมือนเดิมไหม?

ปั๊มน้ำ DC Bilge Pump 1100GPH ปั๊มน้ำท้องเรือ ซ่อม ไม่ยากเลย ตอนที่ 4 ตอนนี้เป็นตอนประกอบร่าง ประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ที่เราถอดออกมา กลับเข้าที่เดิม ให้ใช้งานต่อได้
ปั๊มน้ำ DC Bilge Pump 1100GPH ปั๊มน้ำท้องเรือ ซ่อม ไม่ยากเลย ตอนที่ 4 ตอนนี้เป็นตอนประกอบร่าง ประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ที่เราถอดออกมา กลับเข้าที่เดิม ให้ใช้งานต่อได้

ปั๊มจุ่ม DC 1100GPH ปั๊มท้องเรือ Bilge Pump ซ่อม ไม่ยากเลย ตอนที่ 3

ผ่านไปสองตอนแล้ว สำหรับบทความ ซ่อมปั๊มจุ่ม 1100gph ซึ่งเป็นปั๊มน้ำ DC ขนาดเล็ก ที่เค้าออกแบบไว้ใช้เป็น ปั๊มน้ำท้องเรือ หรือ Bilge Pump แต่เราจะเอาไปใช้งานอื่นๆ ที่อยากจะใช้ เช่น พกพาไปใช้รดน้ำในแปลงผัก เล็กๆ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะแรงดันของน้ำที่ได้จากปั๊มน้ำขนาดเล็กแบบนี้ ไม่น้อยเลยทีเดียว และวันนี้เราจะมาต่อกันเป็นตอนที่ 3 ซึ่งจะเป็นตอนสำรวจมอเตอร์ เพื่อแก้ปัญหามอเตอร์หมุนฝืด ปั๊มน้ำหมุนๆ หยุดๆ เพราะความฝืด มาดูกันว่า จะแก้ปัญหายังไง

ปั๊มน้ำ DC bilge pump 1100gph ใช้มอเตอร์ปั๊มเล็กๆ แบบนี้ ติดตั้งภายในโครงปั๊มน้ำ
ปั๊มน้ำ DC bilge pump 1100gph ใช้มอเตอร์ปั๊มเล็กๆ แบบนี้ ติดตั้งภายในโครงปั๊มน้ำ

ปั๊มน้ำ DC 1100GPH ปั๊มน้ำท้องเรือ แกะมาซ่อม ไม่ยากเลย ตอนที่ 2

ปั๊มจุ่ม ปั๊มน้ำท้องเรือ DC 1100GPH เป็นปั๊มตัวเล็กๆ กระทัดรัด แม้จะบอกว่าเป็นปั๊มน้ำท้องเรือ ตามการออกแบบ แต่มันก็คือปั๊มน้ำ หรือปั๊มแช่ ที่เวลาใช้งาน จะต้องจุ่มปั๊มลงไปในน้ำทั้งตัว เพื่อระบายความร้อนของตัวมอเตอร์ไปกับน้ำด้วย และปั๊มน้ำขนาดเล็กๆ นี้ เราสามารถนำมาใช้งานได้หลากหลาย พอสมควร เพราะแรงดัน และปริมาณของน้ำที่ออกมาจากปั๊มตัวเล็กๆ นี้ ไม่เบา ไม่เล็กน้อย เหมือนตัวปั๊มเลย

ปั๊มน้ำ DC 1100GPH ปั๊มน้ำท้องเรือ แกะมาซ่อม ไม่ยากเลย ตอนที่ 2 แล้ว ตอนนี้เราจะแกะใบพัดปั๊มน้ำ เพื่อถอดมอเตอร์กัน
ปั๊มน้ำ DC 1100GPH ปั๊มน้ำท้องเรือ แกะมาซ่อม ไม่ยากเลย ตอนที่ 2 แล้ว ตอนนี้เราจะแกะใบพัดปั๊มน้ำ เพื่อถอดมอเตอร์กัน

ปั๊มน้ำ DC 1100GPH ปั๊มน้ำท้องเรือ แกะมาซ่อม ไม่ยากเลย ตอนที่ 1

ปั๊มน้ำ DC ตัวเล็กๆ ที่เรียกว่า ปั๊มท้องเรือ 1100GPH หัวสีแดง กลางสีขาว และท้องสีน้ำเงิน เป็นปั๊มที่ทำมามีสีสันดี ซึ่งปั๊มขนาดเล็กตัวนี้ แม้จะเล็ก แต่พลังในการผลักดันน้ำนี่ ไม่เบาเลยจริงๆ ซื้อมาลองใช้เมื่อนานมาแล้ว ตั้งแต่ตอนเริ่มปลูกทุเรียนใหม่ๆ จนกระทั่งตอนนี้ กำลังจะครบ 4 ปีพอดีๆ ในอีกไม่กี่วัน แช่น้ำมาก็นาน (ไม่ค่อยได้ใช้งาน แต่แช่น้ำมานาน Bilge Pump หรือ submersible pump 1100gph แช่น้ำทนไหม? ) ก็ยังใช้งานได้อยู่ แต่มีความฝืดอยู่บ้าง ไม่ค่อยลื่นไหล (ลองใช้นิ้วมือ หมุนใบพัดของปั๊มน้ำ) เมื่อเปรียบเทียบกับตัวใหม่อีกตัวนึง ที่เก็บสำรองเอาไว้

ปั๊มน้ำท้องเรือ หรือ bilge pump 1100GPH แช่น้ำมานาน ยังไม่เสีย ใช้งานได้ แต่ฝืด ทำงานบ้าง หยุดบ้างคงจะเหนื่อย เพราะแช่น้ำมานาน
ปั๊มน้ำท้องเรือ หรือ bilge pump 1100GPH แช่น้ำมานาน ยังไม่เสีย ใช้งานได้ แต่ฝืด ทำงานบ้าง หยุดบ้างคงจะเหนื่อย เพราะแช่น้ำมานาน

อุดรอยต่อแผ่นซีเมนต์บอร์ด อย่าทำแบบนี้เด็ดขาด

เรื่องราวมันมีอยู่ว่า บ้านสวนที่ฟาร์มเพียร เป็นบ้านโครงเหล็ก สร้างแบบง่ายๆ เน้นประหยัดเงิน เป็นบ้านโครงเหล็กยกสูง เป็นใต้ถุน นั่งเล่นตอนกลางวัน ทำกิจกรรมสารพัด เย็นดีเหมือนกัน ทีแรกว่าจะยกพื้นเพียงแค่เล็กน้อย หนีน้ำท่วมพื้น และกลัวลมมากๆ แต่แรงเชียร์ของคนรอบข้างบอกว่า ทำไปแล้วใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลย เตี้ยๆ แบบนั้นไม่ดีหรอก ก็เลยปรับขึ้นอีกนิดนึง แต่ต้องมุด เดินเข้าใต้ถุนตรงๆ ไม่ได้ ก็ไม่มีใครเห็นด้วยอีก บอกไหนๆ แล้ว เอาสองเมตรแล้วกัน เดินได้สบายๆ ก็เลยตกลงตามนั้นไป

อุดรอยต่อแผ่นซีเมนต์บอร์ด อย่าทำแบบนี้เด็ดขาด เพราะมันจะเกิดเป็นรอยแยก อย่างที่เห็นในภาพ
อุดรอยต่อแผ่นซีเมนต์บอร์ด อย่าทำแบบนี้เด็ดขาด เพราะมันจะเกิดเป็นรอยแยก อย่างที่เห็นในภาพ

ลับคมกรรไกรตัดกิ่ง ง่ายๆ ด้วยตะไบ ใครๆ ก็ทำได้

ลับคมกรรไกรตัดกิ่ง เรื่องง่ายๆ ใช้ตะไบเล่มเดียว ก็คมได้ ถ้าเข้าใจ ซึ่งจะว่าไปแล้วจะบอกว่าง่าย หลายคนก็อาจจะบอกว่ายาก เพราะลำพังมีดทำครัวทั่วไป หลายคนยังบอกว่ายาก ลับยังไงก็ไม่คม เลยก็มี ทั้งนี้มันก็ต้องอาศัยเวลา ในการทำความเข้าใจ ในการลองลับมีดด้วยตัวเอง ผ่านไปหลายๆ ครั้งก็จะเข้าใจสาเหตุว่าทำไมที่ผ่านมาเราลับมีดไม่คมเลย

ลับคมกรรไกรตัดกิ่ง ง่ายๆ ด้วยตะไบ ใครๆ ก็ทำได้ ลับคมเรื่อยๆ ทำงานได้เร็ว และต่อเนื่อง ไม่ต้องออกแรงมากด้วย
ลับคมกรรไกรตัดกิ่ง ง่ายๆ ด้วยตะไบ ใครๆ ก็ทำได้ ลับคมเรื่อยๆ ทำงานได้เร็ว และต่อเนื่อง ไม่ต้องออกแรงมากด้วย

ตั้งเวลารดน้ำสวนทุเรียนด้วยมือถือ ปิดหรือเปิด ก๊อกน้ำตัวไหน กำหนดได้

ตั้งเวลารดน้ำสวนทุเรียนด้วยมือถือ เป็นภาคต่อ ระบบรดน้ำฟาร์มเพียร รูปแบบที่ 3 ซึ่งที่ผ่านมาก็จะเป็น Manual Control หรือ สั่งงานแบบแมนนวล ถัดมาก็เป็นแบบ Period Control หรือ สั่งงานแบบกำหนดเวลาการทำงาน เป็นช่วงเวลา กี่นาที ก็ว่าไป และมาถึงบทความนี้ เป็นรูปแบบ Timer Control หรือ การตั้งเวลารดน้ำแบบล่วงหน้า วันนี้ทั้งวัน ไม่ต้องห่วงว่า ก๊อกน้ำ หรือวาล์วน้ำตัวไหนในสวน จะไม่ถูกเปิด แปลงไหนจะไม่ได้น้ำ ไม่มีแน่นอน เพราะเรากำหนดได้ล่วงหน้า

ตั้งเวลารดน้ำสวนทุเรียนด้วยมือถือ ปิดหรือเปิด ก๊อกน้ำตัวไหน กำหนดได้เอง แบบ Timer Control
ตั้งเวลารดน้ำสวนทุเรียนด้วยมือถือ ปิดหรือเปิด ก๊อกน้ำตัวไหน กำหนดได้เอง แบบ Timer Control

อยู่ที่ไหนก็สั่งรดน้ำสวนทุเรียนได้ แค่มีมือถือ ก็สั่งงานได้ทุกก๊อก ทุกวาล์ว

ก่อนหน้านี้ได้นำเสนอการรดน้ำ ผ่านมือถือไปแล้ว 1 รูปแบบ นั่นก็คือ การสั่งงานในระบบ Manual Control อยากจะเปิดก๊อกน้ำ วาล์วน้ำตัวไหน ประตูน้ำตัวไหน ก็สั่งงานผ่านทางมือถือได้เลย แต่การสั่งงานแบบ Manual อยากจะเปิดก๊อกไหน ก็กดเปิด อยากจะปิดก็กดปิด มันก็มีข้อเสีย อย่างนึงก็คือ เราต้องจับเวลาเอาเอง อยากจะเปิดก๊อกน้ำตัวไหน เป็นระยะเวลาสักเท่าไหร่ เราจะต้องดูนาฬิกาเอา ซึ่งถ้าเป็นการรดน้ำผัก จะใช้เวลาสั้นๆ เราจะไม่ลืม ถึงเวลาเราก็สั่งปิดก๊อกน้ำได้ (ระบบควบคุมระบบน้ำของฟาร์มเพียรนี้ อ่านว่า “มีฟาร์มเพียร” เพื่อเตือนตัวเองเสมอว่าให้มีความพยายาม เอาชนะปัญหา)

อยู่ที่ไหนก็สั่งรดน้ำสวนทุเรียนได้ แค่มีมือถือ ก็สั่งงานได้ทุกก๊อก ทุกวาล์ว ด้วยการสั่งงานแบบ Period Control
อยู่ที่ไหนก็สั่งรดน้ำสวนทุเรียนได้ แค่มีมือถือ ก็สั่งงานได้ทุกก๊อก ทุกวาล์ว ด้วยการสั่งงานแบบ Period Control

รดน้ำสวนทุเรียนผ่านมือถือ อยู่ที่ไหนก็สั่งรดน้ำได้ ระบบ Smart farm ง่ายๆ

รดน้ำสวนทุเรียน ที่จังหวัดจันทบุรี แม้ว่า ตัวจะอยู่กรุงเทพ อยู่ ปทุมธานี อยู่ที่ไหนๆ ก็สั่งรดน้ำต้นไม้ รดน้ำทุเรียนได้ไม่ขาดช่วง ต้นทุเรียนไม่ตายเพราะขาดน้ำแน่นอน (ยกเว้นน้ำหมดสระ ถ้าแล้งจนน้ำหมดสระ ระบบดีแค่ไหน ก็ช่วยหาน้ำไม่ได้แน่นอน) ระบบรดน้ำทุเรียนผ่านมือถือ ที่ออกแบบ และลงมือทำนี้ เป็นระบบที่วางรูปแบบระบบเอง โดยเริ่มจากความไม่รู้ แต่อยากทำ ค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ ทดลอง จนใช้งานได้จริง ตามที่ต้องการในที่สุด

รดน้ำสวนทุเรียนผ่านมือถือ ฟาร์มเพียร (มีฟาร์มเพียร) สมาร์มฟาร์มง่ายๆ ที่ลงมือทำเองทุกขึ้นตอน ทั้งอุปกรณ์ และเขียนโปรแกรม
รดน้ำสวนทุเรียนผ่านมือถือ ฟาร์มเพียร (มีฟาร์มเพียร) สมาร์มฟาร์มง่ายๆ ที่ลงมือทำเองทุกขึ้นตอน ทั้งอุปกรณ์ และเขียนโปรแกรม

ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ กับ แผงโซล่าเซลล์ 410w ดูดน้ำคลอง มาเติมสระ

ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ กับ แผงโซล่าเซลล์ 410w ดูดน้ำคลอง มาเติมสระ และใช้ร่วมในการปล่อยน้ำแต่ละครั้งด้วย สาเหตุที่ต้องดูดน้ำคลองมาเติม แรกเริ่มเดิมที ก็คิดว่าจะใช้น้ำจากสระที่ขุดเอาไว้เล็กๆ นี่แหละ เพราะคลองนี้มีน้ำตลอด ดูดน้ำจากสระรดน้ำทุเรียนแค่ 50 ต้น เช้ามา น้ำในสระก็สูงขึ้นมาเท่ากับคลองอยู่ดี แต่ที่ต้องใช้น้ำจากคลองเป็นหลัก เพราะว่าน้ำในสระมันเป็นน้ำเปรี้ยวครับ

ในสระเป็นน้ำเปรี้ยว จำเป็นที่จะต้องดูดน้ำในคลอง ส่งไปใส่สระ เพื่อไล่น้ำเปรี้ยว ด้วยแผงโซล่าเซลล์ 410w แผงนี้
ในสระเป็นน้ำเปรี้ยว จำเป็นที่จะต้องดูดน้ำในคลอง ส่งไปใส่สระ เพื่อไล่น้ำเปรี้ยว ด้วยแผงโซล่าเซลล์ 410w แผงนี้

เครื่องตัดหญ้า แบตเตอรี่ DIY ใบตัดหญ้า สั้นๆ ก็มีประโยชน์

หลายคนคุ้นเคยกับเครื่องตัดหญ้า แบตเตอรี่ กันเป็นอย่างดี ถ้าเข้าไปดูตามเว็บช็อปปิ้ง ออนไลน์ จะพบว่า เครื่องตัดหญ้า แบตเตอรี่ หรือเครื่องตัดหญ้าไร้สาย มียอดการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก แต่รายละเอียดสินค้า ไม่ค่อยจะตรงกับความเป็นจริงสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะเรื่องแบตเตอรี่ ซึ่งตัวผมเองไม่เคยซื้อมาใช้งานเลย คิดอยากจะได้เครื่องตัดหญ้าแบตสักตัว ก็ซื้อมอเตอร์มาลองทำดู ผิดๆ ถูกๆ ก็ได้ประสบการณ์ ได้รู้ข้อดีข้อเสีย ในหลายๆ จุด โดยเฉพาะเรื่องของแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญจริงๆ

เครื่องตัดหญ้า แบตเตอรี่ DIY ใบตัดหญ้า สั้นๆ ก็มีประโยชน์ เอามาตัดหญ้า บริเวณฟุตบาทหน้าบ้านแม่ได้สบายๆ
เครื่องตัดหญ้า แบตเตอรี่ DIY ใบตัดหญ้า สั้นๆ ก็มีประโยชน์ เอามาตัดหญ้า บริเวณฟุตบาทหน้าบ้านแม่ได้สบายๆ

ซ่อมข้อต่อท่อน้ำ PVC หัก โดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ ง่ายนิดเดียว

ข้อต่อท่อน้ำ PVC กับท่อ PE หัก ต้องซ่อม เพราะความเผลอเรอ ลืมตำแหน่งข้อต่อ กับท่อไปเสียสนิท ตัดหญ้าเพลินๆ ก็เลยเหยียบดังกร๊อบ โดยไม่ตั้งใจ แต่เกิดความเสียหาย จะเปลี่ยนใหม่ ก็ต้องเปลี่ยนทั้งชุดเลย ตัดๆ ต่อๆ ท่ออีก คิดๆ ดูอีกที ท่อเส้นนี้ มันแทบจะไม่มีแรงดันในท่อเลย เพราะปลายทางเป็นหัวเหวี่ยงแบบมินิ แรงดันน้ำน้อยๆ แบบนี้ น่าจะแปะกาวได้อยู่นะ

ซ่อมข้อต่อท่อน้ำ PVC กับ PE หัก โดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ ง่ายนิดเดียว
ซ่อมข้อต่อท่อน้ำ PVC กับ PE หัก โดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ ง่ายนิดเดียว

Bilge Pump หรือ submersible pump 1100gph แช่น้ำทนไหม?

ปั๊มน้ำขนาดเล็กๆ ที่เค้าเรียกกันว่า Bilge Pump หรือ submersible pump 1100gph แปลว่า ปั๊มน้ำท้องเรือ เพราะการออกแบบ และการนำไปใช้งาน น่าจะถูกออกแบบไว้สำหรับดูดน้ำใต้ท้องเรือทิ้งไปนอกเรือ แต่ความแรงของน้ำ กับการใช้งานง่ายๆ ที่ป้อนไป DC 12V เข้าไปก็ใช้งานได้ทันที เรียกว่าเล็กพริกขี้หนู เพราะแรงดันน้ำที่ปล่อยออกมาใช้ได้เลย เมื่อเทียบกับขนาดที่เล็กมากๆ แบบนี้ แล้ว 1100gph มันทนไหมล่ะ ถ้าแช่น้ำนานๆ น่ะ วันนี้จะพามาหาคำตอบกันครับ

ปั๊มน้ำขนาดเล็ก submersible pump 1100gph แช่น้ำทนแค่ไหน มาดูกันครับ
ปั๊มน้ำขนาดเล็ก submersible pump 1100gph แช่น้ำทนแค่ไหน มาดูกันครับ

ถอดสกรูแน่นๆ ด้วยไขควง และประแจเลื่อน

ถอดสกรูแน่นๆ ด้วยไขควง และประแจเลื่อน เป็นเคสเพื่อการเรียนรู้ เนื่องจากว่า งานวันนี้ เป็นการนำเอาไม้พาเลท มาแยกเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาประกอบเข้าด้วยกันใหม่ เป็นชั้นวางขนาดเล็ก เพื่อเพาะต้นอ่อนผักต่างๆ ด้วยสกรู เพราะในฟาร์ม ในบ้าน ไม่มีตะปูเลย ไม่ว่าจะเป็นตะปูตอกไม้ หรือคอนกรีตก็ตาม แต่มีสกรูที่เหลือจากการใช้งานอื่น เราก็ใช้สกรู แต่บังเอิญว่า เนื้อไม้ ค่อนข้างแข็ง และดูดสกรูน่าดูเลย เพราะเจาะนำด้วยดอกสว่าน ขนาดเดียวกันกับไม้เนื้ออ่อน ทำให้ขันสกรูเข้ายาก ขันสกรูออกยิ่งยากไปใหญ่

หัวสกรู ถูกแก้ไข จากหัวแฉก หรือหัวฟิลิปส์ มาเป็นหัวผ่า ด้วยใบเลื่อย เพราะหัวสกรูเสียหายจากการพยายามขันสกรูออก
หัวสกรู ถูกแก้ไข จากหัวแฉก หรือหัวฟิลิปส์ มาเป็นหัวผ่า ด้วยใบเลื่อย เพราะหัวสกรูเสียหายจากการพยายามขันสกรูออก